สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 15-21 พฤษภาคม 2563

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
(10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,885 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,838 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,300 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,458 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,625 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.88
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่ ) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,104 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,000 บาท/ตัน) ราคา
สูงขึ้นจากตันละ 1,081 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,473 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.12 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 527 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 501 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,883 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 498 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,881 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 2 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 487 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,439 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 484 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,435 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 4 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 514 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,295 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 526 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,774 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 479 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.7031
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2563/64 ณ เดือนพฤษภาคม 2563
มีผลผลิต 501.956 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 493.790 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2562/63 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.65
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลก ปี 2563/64 ณ เดือนพฤษภาคม 2563 มีปริมาณผลผลิต 501.956 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.65 การใช้ในประเทศ 498.123 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.62 การส่งออก/นำเข้า 45.210 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 5.44 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 184.181 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63
ร้อยละ 2.13
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย กัมพูชา จีน อินเดีย ปารากวัย แอฟริกาใต้
ไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา และปากีสถาน
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบนิน บราซิล เบอร์กินา คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ เอธิโอเปีย
อียู กานา กินี อิหร่าน เคนย่า มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล  แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน และเนปาล
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ และไทย
 
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
กัมพูชา
รัฐบาลกัมพูชาได้อนุญาตให้เริ่มส่งออกข้าวขาวและข้าวเปลือกได้ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป หลังจากที่ได้ออกประกาศห้ามส่งออกข้าวขาวและข้าวเปลือกเป็นการชั่วคราว เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2563 ตามนโยบายความมั่นคงทางอาหารของประเทศเพื่อเก็บรักษาอาหารที่จำเป็นให้มีบริโภคอย่างเพียงพอภายในประเทศ ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ภายในประเทศเริ่มดีขึ้นและข้าวสารที่มีสำรองไว้ภายในประเทศยังคงมีเหลือเพียงพอ ประกอบกับในช่วงนี้หลายประเทศต้องการนำเข้าข้าวสารและอาหารอื่นๆ จำนวนมากเพื่อสำรองให้ประชาชนในประเทศตนมีอาหารเพียงพอในช่วงสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จึงทำให้รัฐบาลตัดสินใจยกเลิกมาตรการฯ ดังกล่าว เพื่อใช้โอกาสนี้ในการเพิ่มปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวไปยังตลาดต่างๆ ที่ต้องการได้มากขึ้น
นาย Song Saran ประธานสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (Cambodia Rice Federation; CRF) กล่าวว่า การยกเลิกมาตรการห้ามส่งออกข้าว ได้ช่วยกระตุ้นให้กัมพูชาสามารถส่งออกข้าวได้ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ ข้าวหลายชนิดกำลังเป็นที่ต้องการของหลายประเทศ และจะส่งผลให้เกษตรกรและโรงสีข้าวมีรายได้เพิ่มขึ้น
ตามไปด้วย ประกอบกับจากการที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ประกาศว่าต้องการนำเข้าข้าว 300,000 ตัน ก่อนช่วงไตรมาสที่ 3 ทำให้สมาพันธ์ข้าวกัมพูชายื่นหนังสือต่อรัฐบาลกัมพูชาให้อนุญาตส่งออกข้าวขาวได้เช่นเดิม เพื่อให้ผู้ประกอบการส่งออกข้าวกัมพูชาสามารถส่งออกข้าวไปยังฟิลิปปินส์ได้
ทั้งนี้ นาย Song Saran กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลอนุญาตให้ส่งออกข้าวได้ ทางสหพันธ์ข้าวกัมพูชาจะรีบดำเนินการติดต่อฟิลิปปินส์เพื่อเจรจาส่งออกข้าวต่อไป โดยสหพันธ์ข้าวกัมพูชาเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่กัมพูชาจะสามารถส่งออกข้าวไปยังตลาดฟิลิปปินส์ได้ในไม่ช้า เนื่องจากกัมพูชาและฟิลิปปินส์ได้เคยลงนามในสัญญาการค้าข้าวระหว่างกันตั้งแต่ปี 2556
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (the Ministry of Economic and Finance (MEF)
แจ้งให้สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (Cambodia Rice Federation; CRF) ทราบว่า รัฐบาลจะอนุญาตให้เริ่มส่งออกข้าวขาวได้ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป โดยสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) จะต้องแจ้งให้สมาชิกของสหพันธ์ข้าวกัมพูชาทราบ โดยเฉพาะผู้ผลิตและผู้ส่งออกข้าวขาว
ก่อนหน้านี้ สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) ได้ร้องขอให้รัฐบาลอนุญาตให้ส่งออกข้าวขาวได้อีกครั้ง เพื่อช่วยให้ โรงสีข้าวสามารถระบายสต็อกข้าวเก่าที่เก็บไว้ออกไป เพื่อลดภาระดอกเบี้ยและเตรียมพื้นที่ไว้รองรับการซื้อข้าวเปลือกฤดูใหม่ที่คาดว่าจะเริ่มในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้
สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) รายงานราคาส่งออกข้าวประจำวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 โดยข้าวหอม Jasmine (Malys Angkor) ชนิด 5% ราคา 945 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน (เพิ่มขึ้นจากราคาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 ที่ 930 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน) ข้าวหอม Fragrant Rice (Sen Kra Ob - SKO) ชนิด 5% ราคา 835 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน (เพิ่มขึ้นจากราคาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 ที่ 825 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน) ข้าวขาว (White Rice Premium / Soft cooking) ชนิด 5% ราคา 550 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ข้าวนึ่ง (Parboiled Rice) ชนิด 5% ราคา 590 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน (ลดลงจากราคาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 ที่ 600 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน) ข้าวนึ่งอินทรีย์ (Organic Parboiled Rice) ชนิด 5% ราคา 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน (ลดลงจากราคาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 ที่ 1,100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน) ข้าวหอมอินทรีย์ (Organic Jasmine - Malys Angkor) ชนิด 5% ราคา 1,400 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน (เท่ากับราคาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 ที่ 1,400 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน) และข้าวกล้องหอมอินทรีย์ (Organic Brown Jasmine – Premium quality) ราคา 1,370 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
อินโดนีเซีย
สำนักข่าว Antara รายงานว่า หน่วยงาน BULOG ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านโลจิสติกส์ของอินโดนีเซีย คาดว่าจะมีสต็อกข้าวมากถึง 1.8 ล้านตัน ในเดือนมิถุนายน 2563 จากปัจจุบันที่สต็อกข้าวของรัฐบาลมีอยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านตัน โดยหน่วยงาน BULOG ตั้งเป้าหมายจัดหาข้าวเปลือกจากเกษตรกรในประเทศประมาณ 650,000 ตัน ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว
ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา และจะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายนนี้
ทั้งนี้ หน่วยงาน BULOG ได้ตั้งเป้าหมายการจัดซื้อข้าวในประเทศไว้ที่ 950,000 ตัน สำหรับเก็บสำรองในคลังเก็บข้าวของรัฐบาลในปี 2563 โดยคาดหมายว่าภายในเดือนมิถุนายนปีนี้จะสามารถจัดหาได้ประมาณร้อยละ 61 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 หน่วยงาน BULOG ได้จัดหาข้าวแล้วประมาณ 290,000 ตัน
นอกจากนี้ สำนักข่าว Reuters รายงานว่าหน่วยงาน BULOG ได้เพิ่มปริมาณข้าวที่ระบายออกสู่ตลาด
เป็นสองเท่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในประเทศท่ามกลางการระบาดของ
เชื้อไวรัส COVID-19
ผู้อำนวยการของ BULOG กล่าวว่าราคาข้าวยังคงอยู่ในระดับสูงแม้จะมีอุปทานข้าวเพิ่มขึ้นจากการเก็บเกี่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2563 หน่วยงาน BULOG ได้จำหน่ายข้าวแล้วประมาณ 596,305 ตัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ 225,685 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ขณะที่ทางการระบุว่า ราคาข้าวที่สูงขึ้นเป็นไปตามความต้องการที่สูงขึ้นของโครงการช่วยเหลือทางสังคมของรัฐบาลท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และการจำกัดการเดินทางติดต่อระหว่างกันตามของมาตรการที่รัฐบาลกำหนดขึ้นมาเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว
จากข้อมูลของรัฐบาล เมื่อเร็วๆ นี้ ราคาขายปลีกข้าวเฉลี่ย (the average retail price) อยู่ที่ 12,050 รูเปียห์ต่อกิโลกรัม (ประมาณ 810 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน) เพิ่มขึ้นจาก 11,800 รูเปียห์ต่อกิโลกรัม (ประมาณ 793 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน) เมื่อช่วงต้นปี 2563 และเพิ่มขึ้นจากในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ซึ่งราคาข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ 11,700 รูเปียห์ต่อกิโลกรัม (ประมาณ 786 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน)
ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดราคาขายปลีกสูงสุดสำหรับข้าวคุณภาพปานกลาง (maximum retail price for medium-grade) อยู่ระหว่าง 9,450-10,250 รูเปียห์ต่อกิโลกรัม (ประมาณ 635-688 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน) ขึ้นอยู่กับพื้นที่ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย




กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.07 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.94
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  8.70 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.68 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.28 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 277.40 ดอลลาร์สหรัฐ (8,799 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 275.50 ดอลลาร์สหรัฐ (8,791 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 8 บาท 
2. สรุปภาวะการผลิต การตาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2563/64 มีปริมาณ 1,161.96 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,120.95 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 3.66 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อียิปต์ อาร์เจนตินา เวียดนาม แคนาดา เกาหลีใต้ ไนจีเรีย และอิหร่าน มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 182.64 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 174.75 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 4.51 โดยสหรัฐอเมริกา ยูเครน รัสเซีย เซอร์เบีย และพม่า ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เม็กซิโก เกาหลีใต้ เวียดนาม อียิปต์ อิหร่าน อิหร่าน โคลอมเบีย แอลจีเรีย ไต้หวัน เปรูซาอุดีอาระเบีย มาเลเซีย โมร็อกโก ชิลี อิสราเอล บราซิล โดมินิกัน กัวเตมาลา เคนยา ตูนิเซีย และจอร์แดน มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 319.60 เซนต์ (4,043 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 319.08 เซนต์ (4,061 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 18 บาท




 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.74 ล้านไร่ ผลผลิต 29.493 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.38 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.67 ล้านไร่ ผลผลิต 31.080 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.59 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.81 แต่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 5.11 และร้อยละ 5.85 ตามลำดับ โดยเดือนพฤษภาคม 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.00 ล้านตัน (ร้อยละ 3.40 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 19.02 ล้านตัน (ร้อยละ 64.50 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง แต่ตลาดมันสำปะหลังอยู่ในภาวะชะงักงัน และหัวมันสำปะหลังมีคุณภาพต่ำ ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังลดต่ำลง สำหรับลานมันเส้นส่วนใหญ่ปิดทำการ ทั้งนี้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง ขณะที่โรงแป้งฯเปิดดำเนินการไม่มาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.66 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.69 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.78
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.16 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.14 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.39
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.11 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.06 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.83
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.75 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 220 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,975 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,016 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 423 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,410 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,491 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.666 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.300 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.702 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.306 ล้านตัน ของเดือนเมษายน คิดเป็นร้อยละ 2.12 และร้อยละ 1.96 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.75 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.56 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.42               
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.75 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 20.56 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.92
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินเดียเริ่มซื้อน้ำมันปาล์มจากมาเลเซียอีกครั้งหลังจากความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอินเดียและมาเลเซียดีขึ้นจากการที่มาเลเซียเซ็นสัญญาซื้อข้าวอินเดีย 100,000 ตัน ผู้นำเข้ารายใหญ่ของอินเดียเซ็นสัญญาซื้อน้ำมันปาล์มดิบมาเลเซียถึง 200,000 ตัน ส่งสินค้าเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ปัจจัยกระตุ้นแรงซื้อของอินเดีย คือ ภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของอินโดนีเซีย สินค้าในสต็อกและราคาลดลง ราคาน้ำมันปาล์มมาเลเซียลดลง เพราะสต๊อกน้ำมันมาเลเซียสูงขึ้นและผลผลิตในเดือนมิถุนายนคาดว่าจะเพิ่มขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,221.40 ดอลลาร์มาเลเซีย (16.55 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,056.85 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.00       
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 525.63 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.89 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 506.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.38 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.70
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

        1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ    
         
           ไม่มีรายงาน

 
        2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ         
        
            รายงานผลผลิตน้ำตาลของอินเดีย
            สมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดีย (ISMA) รายงานว่าในช่วงระหว่างเดือน ตุลาคม 2562 – พฤษภาคม 2563 อินเดียผลิตน้ำตาลได้ 26.50 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 19 ของปีก่อน เนื่องจากทางตะวันตกของรัฐ Maharashtra ประสบปัญหาภาวะภัยแล้ง ผลิตน้ำตาลลดลงเหลือ 6.00 ล้านตัน จาก 10.70 ล้านตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.99 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.76 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.10
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 841.5 เซนต์ (9.93 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 844.20 เซนต์ (10.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.32
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 285.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.16 บาท/กก.) ลดลง จากตันละ 286.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.49
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 27.09 เซนต์ (19.18 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 25.99 เซนต์ (18.52 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.23
 

 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด




 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 25.41 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.26
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,010.00  ดอลลาร์สหรัฐ (32.02 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,004.00  ดอลลาร์สหรัฐ (32.02 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59 แต่ทรงตัวในรูปเงินบาทเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 914.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.00 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 909.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.99 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,042.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,035.50 ดอลลาร์สหรัฐ (33.03 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 629.00 ดอลลาร์สหรัฐ (19.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 625.25 ดอลลาร์สหรัฐ (19.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59 แต่ทรงตัวในรูปเงินบาทเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,511.60 ดอลลาร์สหรัฐ (47.93 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,502.75 ดอลลาร์สหรัฐ (47.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 แต่ทรงตัวในรูปเงินบาทเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.87 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 29.33
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.49 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.60 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 58.30 เซนต์(กิโลกรัมละ 41.30 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 57.31 เซนต์ (กิโลกรัมละ 40.84 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.46 บาท)
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,852 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,719 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.74
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,506 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,400 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.57
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 881 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 888 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.79


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่    ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตสุกรในท้องตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว  
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  67.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 66.11 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.96 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.24 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 66.69 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อที่เริ่มมีมากขึ้น ส่งผลให้ภาวะตลาดไก่เนื้อค่อนข้างคึกคัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย  
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.34  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 31.77  บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.00 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 6.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 30.77
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษายังคงปิดภาคเรียน ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ทำให้ภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศชะลอตัว ส่งผลให้ภาวะตลาดไข่ไก่ค่อนข้างเงียบเหงา
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 278 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 289  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.81 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 308 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 290 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 266 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 275บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   


ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 354 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 357 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.84 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 375 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 381 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 311 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 354 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.63 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 91.23 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.66 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 86.77 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.98 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท


กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.25 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.91 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 


ตารางปศุสัตว์ ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 15 – 21 พฤษภาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.49 บาท ราคาลดลง จากกิโลกรัมละ 85.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.57 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.04 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 136.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.63 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 142.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.60 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 68.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.03 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 85.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.89 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา              
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา